องค์การบริหารส่วนตำบลศรีโนนงาม

อบต.ศรีโนนงาม อ.ศรีรัตนะ​ จ.ศรีสะเกษ



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 8



​FQA



คำถามที่ถามบ่อย: เกี่ยวกับ ITA

คำตอบ > เข้าสู่เว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th จากนั้น ดำเนินการ ดังนี้ >> เข้าสู่เมนู Log in >> พิมพ์ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของหน่วยงาน > หน่วยงานจะต้องทบทวนข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางการติดต่อให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อประโยชน์ในการติดต่อจากคณะที่ปรึกษาการประเมินหรือสำนักงาน ป.ป.ช. เช่น กรณีเว็บไซต์ของหน่วยงานล่ม หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตรวจให้คะแนนการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ (OIT) > ในกรณีที่หน่วยงานลืมรหัสผ่านของหน่วยงาน หรือไม่สามารถ Login เข้าใช้งานได้ ให้หน่วยงานกดเลือก “ลืมรหัสผ่าน” จากนั้น ระบบจะให้ท่านยืนยันตัวตนผ่านทางอีเมล์ที่ท่านได้ระบุไว้ในระบบ ITAS และหากการยืนยันตัวตนถูกต้องระบบจะให้ท่านตั้งรหัสผ่านและเข้าสู่ระบบได้ตามปกติ

คำตอบ สำหรับเทศบาล กรณีนายกเทศมนตรีได้พ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี คือเป็นผู้บริหารการประเมินในระบบ ITAS (พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๘ ปัญจทศ .... ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนกว่านายกเทศมนตรีซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่) และเนื่องจากนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งแล้ว ดังนั้น จึงพ้นสถานะความเป็น "บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ" ในการตอบแบบ IIT ตามนิยามในคู่มือหน้า 8 ด้วย

คำตอบ แบบฟอร์มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (ไฟล์ Excel) ยังคงใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินสามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม EIT จากระบบ ITAS ได้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์ itas.nacc.go.th ในหัวข้อ "เอกสารดาวน์โหลด" จากนั้น พิมพ์รายชื่อและข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก "ตามเงื่อนไขที่กำหนด" ลงในแบบฟอร์ม และนำเข้าไฟล์ดังกล่าวเข้าสู่ระบบ ITAS



คำถามที่ถามบ่อย: งานสวัสดิ์การสังคม

คำตอบ ผู้ให้คำรับรองผู้รับผิดชอบในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี หมายถึง ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอ หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือนายกเมืองพัทยา หรือประธานชุมชน

คำตอบ ต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อ ดังนี้ 1. อายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2. สัญชาติไทย 3.ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน (ให้ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอ หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือนายกเมืองพัทยา หรือประธาน ชุมชน เป็นผู้รับรอง) 4. ผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด 7 ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจัดการศพตามประเพณีโดยมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์

คำตอบ แนวทางการดรวจสอบคุณสมบัติของผู้สูงอายุคามเกณซ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น ประกอบด้วย 4.1 สัญชาติไทย 4.2 อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 4.3 รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี 4.4 ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน สลาก พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือมีทรัพย์สินทางการเงินตังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง 4.5 ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายหรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตังกล่าว จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ตังนี้ 4.5.1 ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน) 1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว 1.1) บ้านหรือทาวเฮ้าส์ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา 1.2) ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร 2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไมใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมี พื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ 4.5.2 ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย 1. ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ 2. ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่

คำตอบ การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยึดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ข้อ 8 ผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตนมีภูมิลําเนาอยู่ ต่อมาผู้สูงอายุย้ายภูมิลําเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ผู้สูงอายุไปลงทะเบียนและยื่นคําขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ นับตั้งแต่วันที่ย้ายแต่ไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น ๆ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ในปีงบประมาณถัดไป (ในระหว่างปีงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่จ่าย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่ ยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไปจนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ) หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131

คำตอบ การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยึดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบ .กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ปัจจุบันกรมบัญชีกลาง ดำเนินการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตั้งแต่ เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูล ทำให้ไม่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131

คำตอบ ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นแบบขั้นไดตามช่วงอายุ คือ - อายุ 60 - 63 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท - อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท - อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท - อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท การคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดิม จะคำนวณตามปีงบประมาณ (การเลื่อนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ) หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131

View : 1157